5 ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีศพ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

Spread the love

เพื่อน ๆ เคยได้ยินตำนานเล่าขาน หรือความเชื่อเกี่ยวกับการเดินทางไปร่วมพิธีศพกันไหมครับ ผมเชื่อว่าทุกประเทศ ทุกชนชาติต่างก็มีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปตามธรรมเนียมของตน และจากที่ผมได้เดินทางไปมาหลากหลายทวีปทั่วโลก ขอออกตัวก่อนเลยว่าประเทศไทยของเราค่อนข้างทำผมขนหัวลุกและเกิดอาการหลอนที่สุดแล้ว ทั้งเรื่องเล่า หนัง ภาพยนตร์ และตำนานโบราณต่าง ๆ ที่สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

ซึ่งหนึ่งในเรื่องราวขนหัวลุกของไทยนอกจากการได้พบเจอประสบการณ์หลอนโดยตรงแล้ว สิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็น ไม่สามารถสัมผัส ได้แต่รับฟังและปฏิบัติตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณก็ดึงเอาความกลัวในตัวของผมออกมาไม่แพ้กัน ถึงขนาดไปร่วมงานศพที่ไหนเป็นต้องปฏิบัติตามคำที่ผู้ใหญ่สอนสั่งและเล่าต่อ ๆ กันมาทุกทีไป และเมื่อถึงเวลานอน ผมถึงขนาดต้องเปิดไฟไว้ตลอดเพื่อไม่ให้ความมืดมิดสร้างจินตนาการสุดหลอนจนหลอนไปจริง ๆ อ่านมาถึงตรงนี้อย่าหาว่าผมเป็นหนุ่มขี้กลัวเลยครับ เพราะเชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนก็คงกลัวจนหลอนเหมือนผมเช่นกัน 

และใช่ครับ ถึงกลัวแค่ไหนแต่วันนี้ผมจะมาพูดถึงความเชื่อและข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่เราทุกคนควรรู้ไว้เมื่อต้องเดินทางไปยังงานศพกัน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะพอรู้กันมาบ้างแล้วจากความเชื่อที่ผู้หลักผู้ใหญ่เล่าต่อ ๆ กันมา แต่ผมเชื่อว่าก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบ วันนี้เลยรวบรวมความเชื่อที่ผมเคยได้รับและพอจะนึกออกมาแบ่งปันเพื่อน ๆ กันครับ

ตำนานความเชื่อของคนไทย

 

ความเชื่อเกี่ยวกับคำพูดเมื่ออยู่ในงานศพ

เมื่อนึกถึงงานศพ สิ่งแรก ๆ ที่ทุกคนนึกถึงคืออะไรกันครับ? สำหรับตัวผมนึกถึงพวงหรีด ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แสดงความอาลัยครั้งสุดท้ายแก่ผู้ล่วงลับ และเป็นเกียรติแก่ครอบครัวผู้ล่วงลับอีกด้วย

ซึ่งหน้าตาของพวงหรีดที่พวกเราต่างคุ้นเคยกันดีก็มักจะมีดอกไม้ประดับประดาอย่างสวยงามเต็มไปหมดใช่ไหมครับ แต่ถึงจะสวยแค่ไหน โบราณเขาว่าไว้ว่า ห้ามพูดคำว่า “สวย” กับพวงหรีดในงานศพเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าการชมพวงหรีดจะทำให้ชีวิตต้องมีความเกี่ยวข้องกับงานศพอีกเรื่อย ๆ หรืออาจต้องจัดงานศพให้คนในครอบครัวในเร็ววันนั่นเองครับ

ความเชื่อเกี่ยวกับพวงหรีด

พวงหรีดที่เราทุกคนต่างคุ้นเคย และนิยมใช้แสดงความอาลัยแก่ผู้ล่วงลับนั้น ทราบกันไหมครับว่าแท้จริงแล้วไม่ใช่วัฒนธรรมไทยมาแต่ดั้งเดิม แต่ได้รับอิทธิพลมาจากทวีปในแถบยุโรปที่มักจะนำไปบูชาและทำความเคารพทูตสวรรค์ที่พวกเขานับถือ จนกระทั่งเริ่มแพร่หลายมาสู่ประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเริ่มเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาอย่างแพร่หลายมากขึ้น และถูกนำไปใช้ครั้งแรกในงานของเจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นตัวแทนแห่งความโศกเศร้าและการระลึกถึงตลอดไป 

และเนื่องจากพวงหรีดเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งความโศกเศร้าที่อยู่ในงานอวมงคล นอกจากจะห้ามพูดชมว่าสวยแล้ว อีกหนึ่งความเชื่อโบราณคือ ห้ามนำพวงหรีดเข้ารถและบ้าน เพราะพวงหรีดนั้นเป็นของที่มีไว้สำหรับมอบให้ผู้เสียชีวิต จึงไม่ควรที่จะนำเข้าบ้านและรถ หากไม่ทำตามอาจเกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นในไม่ช้าครับ

ซึ่งใครที่กังวลสามารถเลือกร้านส่งพวงหรีด ที่สามารถให้บริการส่งถึงที่ได้นะครับ สมัยนี้ผมเห็นมีอยู่หลายร้านเลยทีเดียว แต่ถ้าถามว่าผมเคยใช้บริการร้านไหนมาบ้าง ผมขอแนะนำร้าน “หรีด ณ วัด” ครับ สำหรับผมถือว่าราคาเป็นมิตร มีให้เลือกหลายแบบ บริการและจัดส่งรวดเร็ว โดยรวมถือว่าดีเลยทีเดียวครับ ตามได้ไม่ผิดหวัง

ความเชื่อเกี่ยวกับดอกไม้จันทน์

อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้หากจัดพิธีศพนั่นก็คือ ดอกไม้จันทน์ ซึ่งเป็นดอกไม้แห้งที่ผู้คนนิยมนำมาเผาศพ เพื่อแสดงความอาลัยแก่ผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย และส่งเหล่าดวงวิญญาณให้ได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี

แต่ดอกไม้ส่งวิญญาณนี้มีตำนานเล่าขานว่าไม่ควรหยิบยื่นดอกไม้จันทน์ให้ใครในงานศพ เพราะจะเป็นเหมือนการแช่งให้คนผู้นั้นไปสู่ความตายในที่สุด ดังนั้นควรจะหยิบดอกไม้จันทน์เอง และไม่ต้องใจดีหยิบให้ใครจะดีที่สุดนะครับ

ความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์เมื่อไปงานศพ

ต่อมาเป็นเรื่องความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะเลยครับ สำหรับใครที่เป็นว่าที่คุณแม่และมีเหตุด่วน หรือเหตุจำเป็นที่ต้องเดินทางไปร่วมพิธีศพ โบราณว่าไว้ว่าควรหาเข็มกลัดมากลัดไว้ที่เสื้อหรือชุดคลุมท้องของคุณแม่ เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งชั่วร้ายมาทำอันตราย และป้องกันการแท้งบุตรได้ เพราะเด็กในครรภ์ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีจิตบริสุทธิ์และยังไม่แข็งแกร่งมากพอ จึงเชื่อว่าสิ่งชั่วร้ายที่เรามองไม่เห็นสามารถเข้ามาทำร้ายได้นั่นเองครับ

ความเชื่อเรื่องการขจัดสิ่งเลวร้ายหลังกลับจากงานศพ

เมื่อเดินทางไปร่วมพิธีศพกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากกลับจากงานศพก็มีความเชื่อโบราณที่ส่งต่อกันมาอีกครับทุกคน ยังไม่จบง่าย ๆ ครับ! เพราะระหว่างเราอยู่ในงานที่ขึ้นชื่อว่าเป็นงานอวมงคล เชื่อว่ามักจะมีวิญญาณ สัมภเวสีทั้งดีและไม่ดีวนเวียนอยู่รอบตัวเรา หรืออาจตามเรากลับมาได้

คนโบราณจึงแนะนำว่าก่อนออกจากบ้านให้พกกิ่งทับทิมติดตัวไปด้วย หรือก่อนเข้าบ้านให้นำกิ่งทับทิมมาปัดทั่วตัว เพราะชาวจีนโบราณเชื่อว่าทับทิมเป็นต้นไม้ที่ช่วยขจัดสิ่งเลวร้าย และอวมงคลออกไปจากตัวเรา

หรือถ้าไม่อยากใช้เป็นกิ่งทับทิม เพื่อน ๆ สามารถใช้ใบทับทิมแทนก็ได้นะครับ โดยก่อนออกจากบ้านให้เตรียมใบทับทิมและน้ำสะอาดใส่ภาชนะตั้งแอบไว้สักที่ในบริเวณหน้าบ้าน เมื่อเสร็จภารกิจจากงานศพก็นำใบทับทิมที่เตรียมไว้มาล้างหน้าเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากตัวก่อนเข้าบ้าน

และทั้งหมดนี้ก็คือความเชื่อของคนไทยที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เกี่ยวกับข้อปฏิบัติเมื่อจำเป็นต้องเดินทางไปร่วมพิธีศพตามความเชื่อของศาสนา แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์และมองเห็นได้ แต่ผมคิดว่าก็ไม่ใช่เรื่องผิดที่จะลองทำตามที่ผู้ใหญ่เขาว่าไว้นะครับ ดีทั้งต่อตัวเราและบุคคลรอบข้างด้วย กันไว้ดีกว่าเจอเรื่องน่ากลัวทีหลัง ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะฉะนั้นไม่เชื่ออย่าลบหลู่จะดีที่สุดครับ


Spread the love